วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สรุปเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อแบ่งปันความรู้ ของเพื่อนอีก 2 คน

ของ นางสาวจารุวรรณ  ทรัพย์วโรบล


การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach )
หลักการสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ มีดังนี้

        1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อม
        2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่าน หรือช่วงเวลาใดต้องเขียน
        3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษา ครูต้องอ่านและเขียนให้เด็กได้เห็น เป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน

        4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน และครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

        5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน 

        6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ
        7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ครูต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก
        8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้ว่าไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ ไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้

การสอนภาษาแบบธรรมชาติในโรงเรียนอนุบาล
การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน

              1. สภาพแวดล้อม ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุม-ประสบการณ์ต่างๆ โดยมุมทุกมุมสามารถจัดให้เอื้อต่อการเรียนภาษาได้โดยจัดให้มีป้ายสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก มีวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถกระตุ้นให้เด็กต้องการที่จะเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

        2. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะมีบรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และจะต้องเป็นห้องเรียนที่เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
บทบาทของครูที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ

    
        1. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ครูต้เป็นผู้ที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสภาพ-แวดล้อม การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ หรือแหล่งข้อมูลสำหรับเด็ก และเป็นผู้ที่จัดให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่การให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดเห็น ให้เด็กมีโอกาสอ่านและเขียน สนับสนุนให้เด็กกล้าที่จะอ่านและเขียนคำที่ไม่เคยพบมาก่อน ยอมรับและตอบสนองต่อความพยายามของเด็กในทางบวก ไม่ตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์เมื่อเด็กอ่านหรือเขียนยังไม่ถูก

        2. ครูเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้ ครูต้องเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ ทั้งในลักษณะของการสาธิตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรู้หนังสือ เช่น การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน การชี้คำขณะที่อ่าน การถ่ายทอดความคิดโดยการเขียน เป็นต้น

        3. ครูเป็นผู้จัดการให้เกิดการเรียนรู้ ครูต้องจัดการให้การเรียนรู้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ต้องให้เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือ และต้องให้เด็กได้ทำงานร่วมกัน

        4. ครูเป็นผู้ประเมินพัฒนาการ เพื่อดูความก้าวหน้า และสามารถส่งเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสมต่อไป
บทบาทเด็กในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ

        1. เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

        2. เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ตั้งแต่การสร้างหัวข้อที่จะเรียนร่วมกัน การตัดสินใจเลือกทำกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการที่ใช้ในชีวิตจริงของเด็ก และ การประเมินผลงานของตัวเอง

        3. เด็กเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครู ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เด็ก
การประเมินพัฒนาการทางภาษาตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

       1. การประเมินต้องเป็นไปตามธรรมชาติการรู้หนังสือของเด็ก ครูต้องศึกษาพัฒนาการด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนของเด็กแล้วนำหัวข้อเหล่านี้มาสร้างเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมิน
        2. การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน และต้องประเมินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ครูทราบพัฒนาการของเด็ก เข้าใจเด็ก และรู้ว่าจะพัฒนาเด็กอย่างไร
        3. การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ควรเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่แท้จริง ซึ่งจะต้องมีทั้งการสังเกต บันทึก และการเก็บตัวอย่างงาน
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

            1. ผู้ปกครองควรศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร และการเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาล ซึ่งครูควรเป็นผู้ที่สื่อสารให้ผู้ปกครองรับทราบด้วยวิธีการต่างๆ ให้ผู้ปกครองสามารถพัฒนาเด็กในทิศทางเดียวกันกับทางโรงเรียน
        2. ผู้ปกครองอาจมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยการร่วมกิจกรรมของโรงเรียน เช่น เข้าร่วมประชุมกับทางโรงเรียน เยี่ยมชมชั้นเรียน หรือให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียน
        3. ผู้ปกครองสามารถช่วยพัฒนาภาษาของเด็กได้โดยการสนทนาและตอบคำถามของเด็กอย่างสม่ำเสมอ จัดหาหนังสือนิทานให้เด็ก อ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นประจำ เป็นกำลังใจแก่เด็ก เพื่อให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านและการเขียน พยายามไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือตำหนิสิ่งที่เด็กเขียน และผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา

สิ่งที่ได้รับ
                เราสามารถนำไปสอนให้กับเด็กได้เพื่อที่จะให้เด็กเกิดความสนุกสนานในการเรียนภาษามีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนช่วยให้เด็กได้รับพัฒนาการด้านการฟัง  พูด  อ่าน  และ  เขียน  ได้ดี



ของ นางสาวรินทราย  ทำวัดไทร

พัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของภาษา
1.       ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อการติดต่อสัมพันธ์กับสังคมรอบๆ ตัว
2.       ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญในการจัดการเรียนการสอนทั้งใน และนอกระบบโรงเรียน
3.       ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดด้วยตนเอง
4.       ภาษาเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
5.       การใช้ภาษาของมนุษย์เป็นเครื่องบ่งบอกถึงบุคลิกภาพของผู้พูด
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยในแต่ละขั้น
              ขั้นที่ 1. ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน
ขั้นที่ 2. ขั้นเล่นเสียง
ขั้นที่ 3. ขั้นเลียนเสียง
ขั้นที่ 4. ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ขั้นที่ 5. ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยในเชิงพฤติกรรม 7 ระยะ
1.       ระยะเปะปะ
2.       ระยะแยกแยะ
3.       ระยะเลียนแบบ
4.       ระยะขยาย
5.       ระยะโครงสร้าง
6.       ระยะตอบสนอง
7.       ระยะสร้างสรรค์
ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
1.       เติบโตช้าผิดปกติ สมองช้า
2.       มีอารมณ์ประเภทต่างๆ รุนแรงเกินสมควร
3.       สมองคิดเร็วเกินกว่าที่จะพูดออกมาทัน
4.       ถูกล้อเลียน ทำให้เสียความมั่นใจ ประหม่า ไม่แน่ใจ เคร่งเครียด
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา
บทบาทของผู้ปกครอง
-          พ่อแม่ควรพูดให้ชัดเจน
-          พ่อแม่ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับวัยเด็ก
-          พ่อแม่ควรแก้ไขข้อบกพร่องในการออกเสียงของเด็ก
บทบาทของครูปฐมวัย
-          เจตคติของครู
-          บุคลิกภาพ และพฤติกรรมของครู
-          ความสามารถในการสอน และการใช้ภาษาของครู
กลยุทธ์ในการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา
1.       ใส่ใจกับความสนใจของเด็ก
2.       ตีความหมาย และขยายความจากสิ่งที่เด็กกล่าวมา
3.       ช่วยเด็กคิดหาคำศัพท์
4.       เชื่อมโยงไปยังสิ่งที่เด็กรู้จัก
5.       อธิบายคำศัพท์ที่เด็กไม่รู้มาก่อน
6.       ใช้ประโยชน์จากทักษะทางภาษาที่เด็กมีอยู่แล้ว

 http://202.183.233.76/online/education/media/ECED301/ECED301.pdf   และ  http://www.sprogpakken.dk/translated/materialer/th_sprogligestrategier_visueltekst.pdf

สิ่งที่ได้รับ
                เราได้สามารถรู้ถึงปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยซึ่งเราสามารถนำสิ่งที่เราได้อ่านได้ศึกษาไปใช้ปรับปรุงวางแผนที่จะแก้ปัญหาสิ่งเหล่านี้ได้ในอนาคต  บทบาทที่สำคัญของเด็กมี 2 บทบาท  คือ  ครู  และ  พ่อ-แม่  ดังนั้นเราควารรักและใส่ใจให้ความสนใจแก่เด็ก

ของ  นางสาวพิชชา  พรมกลิ้ง


การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน
สำหรับเด็กปฐมวัย

                    ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ  แรกเกิดถึง 7 ปี  หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80 % ของผู้ใหญ่  ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก  ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม  เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ
                    สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ  สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น  สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
                    การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ 1.)การทำงานของสมอง  2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก  3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา  ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง  ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ

                    การทำงานของสมอง
                    สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่  เมื่อคลอดออกมาจะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่  สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่  หลังจากวัยนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครงข่ายเส้นใยประสาท  ในวัย 10 ปีเป็นต้นไปสมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้าๆจะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมาทดแทนใหม่อีก  ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์

ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
1.             ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
        ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน
                     การเรียนจากการปฏิบัติจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ
                           
                              ฉันฟัง  ฉันลืม
                               ฉันเห็น  ฉันจำได้
                               ฉันได้ทำ  ฉันเข้าใจ”

                2.  ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ  ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา  ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข  ไม่ให้เครียด
                3.  ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เขาพูดด้วยความตั้งใจ  และพยายามเข้าใจเขา

เด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเหตุผล              ลูกไม่รู้ว่าแม่เหนื่อย            ลูกไม่เข้าใจ  ลูกก็ซน ช่างซักช่างถาม อย่ารำคาญ อย่าโกรธลูกเลย         รักลูกก็ให้กอดลูกแล้วบอกว่าแม่รักพ่อรัก           แสดงความรักออกมาอย่างจริงใจ  แสดงความใส่ใจต่อลูก       นี้คือยาวิเศษที่ลูกต้องการ                     คนที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุดคือคนอารมณ์ดี


สิ่งที่ได้รับ
                ได้เรียนรู้ว่าสมองของเด็กได้เริ่มทำงานตั้งแต่อยู่ในท้องของมารดาสมองของเด็กพัฒนาจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กพบว่า  ทักษะความคล่องตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาภายในช่วงเวลา  10 ปีแรก  ดังนั้นถ้าหากเด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ  การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของมือจะทำให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นในสมอง  และเซลล์สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก  ทำให้เกิดทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
 

เรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อแบ่งปันความรู้

8 กิจกรรมสนุกส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                การสอนภาษาให้สนุกกับเด็กเราต้องมีกิจกรรมพิสูจน์ความสามารถของเด็กด้วยและกิจกรรมนั้นไม่ควรยากเกินความสามารถของเด็ก และควรมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือเพื่อตองสนองความแตกต่างของเด็กๆ กิจกรรมมีทั้งหมด 8 กิจกรรม ดังนี้
                1.เรื่องเล่าเช้านี้   ให้เด็กๆแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันของแต่ละคนให้ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนๆ การสนทนาที่สำคัญคุณครูต้องใช้ภาษาที่ถูกต้องกับเด็กและครูจะต้องสอนมารยาทในการฟังการพูดแก่เด็กด้วย
                2.อยากจะอ่านดังๆ  ครูควรเลือกหนังสือที่เด็กๆสนใจมาสัก 1 เล่ม และให้เด็กๆได้อ่านออกเสียงกันเป็นประจำเพราะช่วงเวลาของเด็กในตอนนี้เด็กจะมีความสุขและความรู้สึกดีต่อการอ่าน ครูควรแนะนำให้เด็กๆรู้จัก  ชื่อผู้แต่ง  ผู้แปล  ผู้วาดภาพประกอบ  ในการอ่านครูควรชี้นิ้วไปตามเรื่องที่อ่านด้วยหรือตั้งคำถามให้กับเด็กๆเพื่อให้เด็กๆได้ร่วมคาดเดากับเหตุการณ์ที่จะเกิดล่วงหน้า
                3.หนูเล่าอีกครั้ง  เมื่อนิทานเล่มสนุกของเด็กๆจบลง คุณครูควรลองให้เด็กๆนำนิทานกลับมาเล่าให้ครูและเพื่อนๆได้ฟังบ้างก่อนที่คุณครูจะให้เด็กเล่าควรใช้คำถามกระตุ้นเด็กๆควรจับใจความสำคัญ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเด็ก
                4.อ่านด้วยกันนะ  หนังสือภาพขนาดใหญ่หรือ  Big  book  จะช่วยในเรื่องภาษาของเด็กๆ คุณครูชวนเด็กๆมาพูดคุยถึงเรื่องที่จะนำมาเล่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและให้เด็กมีพื้นฐานในการฟังแล้วจึงค่อยอ่านให้เด็กๆฟังและควรชี้นิ้วไปด้วยเพื่อให้เด็กๆได้คุ้นเคยกับตัวหนังสือ คำ ข้อความเมื่อเด็กๆเริ่มคุ้นเคยคุณครูก็ปิดข้อความ ปิดคำ แล้วให้เด็กๆได้ทายหรือทำบัตรคำเพื่อให้เด็กๆได้หาคำนี้จากหนังสือ
                5.อ่านตามใจหนู  นอกจากหนังสือนิทานภาพสวยๆแล้วยังมีสิ่งอื่นที่เด็กสามารถอ่านได้  เช่น  ป้าย  คำขวัญ  กล่องคำ สิ่งต่างๆเหล่านี้เด็กก็สนใจอยากอ่านเหมือนกัน ครูควรทำการบันทึกการอ่านของเด็กโดยที่ให้เด็กๆเล่าเรื่องที่เด็กสนใจที่เด็กๆได้อ่านให้คุณครูฟัง
                6.หนูอยากอ่านเอง  สิ่งนี้จะทำให้เด็กๆที่ซนหยุดนิ่งได้เพราะจะให้เขาเลือกอ่านตามใจชอบจะหยิบอะไรมาจะอ่านอะไรก็ไม่มีใครว่าเมื่อเด็กๆอ่านจบแล้วควรให้เด็กๆได้ทำงานเพราะเพื่อที่เด็กจะได้เกิดความรู้สึกอยากที่จะอ่านเต็มที่
                7.เขียนด้วยกันนะ  คุณครูชวนเด็กๆมาเขียนด้วยการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตประจำวันครูต้องเป็นผู้เริ่มเขียนให้เด็กๆบอกสิ่งที่ต้องการเขียนเป็นข้อความสั้นๆเด็ก ๆ จะเห็นวิธีการเปลี่ยนความคิดมาเป็นข้อความ เห็นลีลามือที่ถูกต้องสวยงาม และควรให้เด็ก ๆ บอกให้ครูเขียนเป็นระยะ กิจกรรมนี้จะทำให้เด็ก ๆ เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเขียน รู้จักตัดสินใจแสดงความคิดเป็นตัวอักษร
                8.หนูอยากเขียนเอง  เด็กๆจะได้ลงมือมือปฏิบัติเขียนเองจริงๆสักทีให้เด็กได้เขียนเพื่อสื่อความหมายตามความสนใจพวกเขาทำกิจกรรมและเขียนถ่ายทอดผลงานความคิดออกมา  เช่น  การบันทึกชื่อนิทาน




วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุปงานวิจัยและโทรทัศน์ครู

สรุปงานวิจัย

      การเขียนของเด็กปฐมวัย  ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเขียน มีดังนี้ 1) ครูเป็นแบบอย่างของผู้ที่พัฒนาการตระหนักรู้ตัวตนของตนเองตามวัย 2) ครูใช้ภาษาเป็นสื่อเพื่อเข้าถึงสัจธรรมและคุณธรรม 3) ครูใช้ภาษาถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เข้าใจธรรมชาติและพลังของภาษา และเข้าถึงสุนทรียะ 4) การเฝ้าสังเกตและพิจารณาการตระหนักรู้ตัวตนของเด็ก 5) ความมุ่งหมายของการศึกษาสู่ความสมดุล 6) การใช้จินตนาการผ่านวัสดุปลายเปิ
      งานวิจัยในชั้นเรียน  การเรียนรู้เรื่องรูปทรงสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้
ทางด้านคณิตศาสตร์ เพื่อเด็กจะได้รู้จัก เข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว เข้าใจความสัมพันธ์ของวัตถุกับ
เนื้อที่ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงกับรูปร่าง ด้วยการใช้ประสาทสัมผัส 
      การศึกษาวิธีการเพื่อส่งเสริมพัฒนาสมาธิในขณะร่วมกิจกรรมของนักเรียนโดยการใช้คำถาม การเสริมแรง และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับนักเรียน  ค าถามมีบทบาทส าคัญยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ค าถามเป็นกุญแจที่น าเด็กน้อยสู่โลกว้าง 
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ อยู่แล้ว หากผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กทุกคนได้
ร่วมมือกันส่งเสริมความต้องการของเด็กอย่างถูกวิธีให้เด็กได้เรียนรู้จากการเล่น และท ากิจกรรมต่างๆ 
ด้วยตนเองโดยใช้ค าถามเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เด็กฝึกคิด หาค าตอบในหลายรูปแบบ อีกทั้งให้เด็กได้
ฝึกคิดอย่างสม่ าเสมอ ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นระบบการท างานของสมอง น าเด็กไปสู่การคิดแก้ปัญหาได้
ตามวัย
      การศึกษาพฤติกรรมเพื่อปรับลดพฤติกรรมการต่อต้านของเด็ก โดยการใช้การเสริมทางบวก  พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นรากฐานที่ส าคัญของพัฒนาการในวัยอื่น ๆ การศึกษาพฤติกรรมหรือการ
เฝ้าระวังมิให้เกิดปัญหาอุปสรรคอันจะเกิดกับเด็ก  เป็นภาระหน้าที่ของผู้ใหญ่   ขณะที่เด็กอยู่ที่บ้าน หน้าที่
ทั้งหมดเป็นของผู้ปกครอง  แต่ขณะที่เด็กอยู่ที่โรงเรียน หน้าที่นี้จักเป็นของครู การพัฒนาลักษณะอันพึง
ประสงค์ของเด็ก และปรับพฤติกรรมที่จะส่งผลต่อการพัฒนาจึงเป็นสิ่งสำคัญ  เพื่อที่เด็กจะได้เติบโตขึ้นมีรากฐานที่ดีในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
      การศึกษาแนวทางแก้ไขพฤติกรรมทักษะการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกวิธ  จากการสังเกตนักเรียนอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ส่วนใหญ่เขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษไม่ถูก โดยการเขียนผิดทิศทาง ครูสังเกตดูขณะที่นักเรียนเขียน ปรากฏว่านักเรียนมีทักษะการเขียนที่ไม่ถูกต้อง ผู้วิจัยพิจารณาเน้นพฤติกรรมที่ควรแก้ไข เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการเขียนที่ถูกต้อง 
จึงได้ท าแบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ถูกต้องให้แก่นักเรียน


สรุปโทรทัศน์ครู

          นิทาน...เล่มใหญ่ การนำเอาศิลปะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปะภาพ ฉีกกระดาษเพื่อแปะลงบนรูปพยัญชนะมาเป็นสื่อการสอนให้เด็กรู้จักพยัญชนะแต่ละตัวซึ่งการสอนให้เด็กค่อยๆรู้จักพยัญชนะทีละตัวจะช่วยให้เด็กจำแต่ละตัวได้นอกจากนี้จะสอนโดยการเรียนปนเล่นเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการมีความสุขในการเรียนสุดท้ายเด็กจะสามารถจดจำในสิ่งที่ครูสอนได้เป็นอย่างดี
          ผลไม้แสนสนุก เป็นการสอนโดยใช้วิธีการพาเด็กไปศึกษาสถานที่จริงในที่นี้คือการไปศึกษาเรื่องผลไม้ที่ตลาด โดยจะได้บูรณาการกิจกรรมต่างๆเข้าไปในการทำกิจกรรมครั้งนี้
          เล่นสนุกกับภาษาอังกฤษ เด็กต้องเรียนรู้กิจกรรมด้วยความสนุกสนานและเหมาะกับวัยของเด็กจึงมุ่งเน้นให้เด็กๆเรียนรู้ผ่านกิจกรรมใน 4 กระบวนการคือ Introduction (ขั้นนำ),Expansion (ขั้นดำเนินการสอน),Consolidation (ขั้นขยายประสบการณ์),Review and Assessment (ขั้นทบทวนและประเมินผล) โดยครูเลือกบทเรียนเรื่อง Toy หรือของเล่นซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นสิ่งที่เด็กๆได้เรียนรู้
         ปลูกฝั่งความดีในชั้นปฐมวัย การปลูกฝั่งจริยธรรมและการทำความดีตั้งแต่เด็กนั้นจะทำให้เด็กไม่เขินอายและทำอย่างมีความสุขครูจึงจัดกิจกรรมปลูกฝั่งความดีให้แก่เด็กตลอด
         กิจกรรมแก้ปัญหาการไม่พูดและแสดงออก เด็กเป็นวัยที่จะเริ่มต้นการเรียนรู้แบบรวมกลุ่มกับเพื่อนๆเด็กบางคนจะกล้าพูดกล้าแสดงออกกล้าพูดคุยกับคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัวแต่มีเด็กบางคนที่ไม่กล้าพูดกล้าคุยไม่กล้าแสดงออกซึ่งจะเป็นปัญหาได้ในอนาคต
         ภาษาในวัยแรกเริ่มเพื่อการสื่อสาร  ศูนย์ปฐมวัย 3 แห่งแสดงให้เห็นการพัฒนาทักษะด้านภาษาและการพูดของเด็กผ่านสภาพแวดล้อมของห้องเรียน ผู้ปกครอง และกลยุทธ์กานฝึกและการแก้ไขคำพูดโครงการเด็กเล็กช่างพูด (ECaT) ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้มของห้องเด็กทารกที่ศูนย์ปฐมวัยเด็กๆ เล่นกันในพื้นที่เอื้อต่อการคุยและนั่งตรงข้ามกันหรือนั่งใกล้ๆกระจกเพื่อกระตุ้นการสื่อสารช่วงปฐมวัยการใช้โปรแกรม ECaT ยังช่วยให้ศูนย์เด็กเล็กคลิฟตันในเมืองฮัลพัฒนาความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้ปกครงชาวโปแลนด์ ที่มีนิสัยจริงจัง โปรแกรม Stay and Play กำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากกิจกรรมต่างๆที่ทำสะท้อนถึงมรดกตกทอดและกระตุ้นให้ผู้ปกครองเข้าถึงการบริจากหลากหลายองค์กรในฐานะส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน ศูนปฐมวัยอิสต์ยิม ในเมืองวอสเตอร์เชียร์ นำเสนโรงเรียนป่าสำหรับนักเรียนทุกคนนักบำบัดด้านภาษาและการพูดทำงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อพัฒนากลยุทธ์ที่ช่วยให้นักเรียนปฐมวัยสามารถก้าวไปสู่ภาษาในขั้นต่อไปได้

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 16

วันที่ 28 กันยายน  2555


วันนี้อาจารย์ให้เขียนอะไรก็ได้เกี่ยวกับ  Tablet  โดยให้เวลาในการเขียน  20  นาที  และให้นักศึกษาส่ง

งานที่ยังไม่ได้ส่งและให้นักศึกษาลิงค์  Blogger  ของอาจารย์   อาจารย์ได้ปิดคอร์สการเรียนการสอน













วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15



วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555


วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการสอนว่ามีวิธีใดบ้าง จะสอนเด็กได้โดยวิธีใด บอกถึงวัตถุประสงค์ว่าควรจะสอนสิ่งใดกับเด็ก การบูรณาการระหว่างเรื่องต่างๆ ทั้งในเรื่องภาษา เทคนิคต่างๆ บอก ๔ ข้อดี ข้อเสียต่างๆ และในท้ายชั่วโมงอาจารยืได้สอนถึงทักษะการใช้ชีวิต การสรุปองค์ความรู้ สรุปในเนื้อหาที่เรียนกันมา แล้วอาจารย์ก็ได้ให้ทำใบประเมิน แล้วบอกนักศึกษา เรื่องรายละเอียดblogger ว่าจะส่งวันไหน

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14



วันศุกร์ที่14 กันยายน 2555


วันนี้อาจารย์ได้ให้ มาร้องเพลงต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อร้องเพลงเสร็จแล้ว ก็เป็นการเล่านิทานโดยเทคนิคต่างๆ ดั้งนี้


1.       เล่าไปวาดไป



    2.      เล่าไปตัดไป

3.      เล่าไปฉีกไป

4.      เล่าไปพับไป






โดยกลุ่มของดิฉันได้เล่าโดยใช้เทคนิคเล่าไปวาดไป  เรื่อง ความสุขของคุณยาย

         กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีคุณยายชอบปลูกผักผลไม้แต่ในโลกใบนี้ไม่มีพื้นที่พอสำหรับปรูกผักและผลไม้เลยคุณยายจึงเดินทางออกไปเรื่อยๆจนไปเจอดาวเคราะห์ดวงหนึ่งดาวเคราะห์ดวงนี้มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ยายจึงสร้างกระท่อนหนึ่งหลังในกระท่อมมี ทีวี  วิทยุ  เสาอากาศ 2 เสา  และเตียงนอน  ยายขุดลำคลองไว้ตรงกลางและแต่ล่ะด้านยายได้ขุดหลุมปลูกผัก  ผลไม้  ยายได้อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์ดวงใหม่อย่างมีความสุข










และร้องเพลงสำหรับเด็ก เพลง  เด็กดีต้องฟัง


เด็ก เด็ก เราเป็นเด็กเชื่อฟังผู้ใหญ่


* ฟังแล้วจะได้เข้าใจ    (ซ้ำ * )

ฟังผู้ใหญ่จะได้ดีเอย


ฟังผู้ใหญ่จะได้ดีเอย


ฟังผู้ใหญ่เป็นเด็กดี....เอย