วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุปงานวิจัยและโทรทัศน์ครู

สรุปงานวิจัย

      การเขียนของเด็กปฐมวัย  ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเขียน มีดังนี้ 1) ครูเป็นแบบอย่างของผู้ที่พัฒนาการตระหนักรู้ตัวตนของตนเองตามวัย 2) ครูใช้ภาษาเป็นสื่อเพื่อเข้าถึงสัจธรรมและคุณธรรม 3) ครูใช้ภาษาถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เข้าใจธรรมชาติและพลังของภาษา และเข้าถึงสุนทรียะ 4) การเฝ้าสังเกตและพิจารณาการตระหนักรู้ตัวตนของเด็ก 5) ความมุ่งหมายของการศึกษาสู่ความสมดุล 6) การใช้จินตนาการผ่านวัสดุปลายเปิ
      งานวิจัยในชั้นเรียน  การเรียนรู้เรื่องรูปทรงสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้
ทางด้านคณิตศาสตร์ เพื่อเด็กจะได้รู้จัก เข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว เข้าใจความสัมพันธ์ของวัตถุกับ
เนื้อที่ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงกับรูปร่าง ด้วยการใช้ประสาทสัมผัส 
      การศึกษาวิธีการเพื่อส่งเสริมพัฒนาสมาธิในขณะร่วมกิจกรรมของนักเรียนโดยการใช้คำถาม การเสริมแรง และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับนักเรียน  ค าถามมีบทบาทส าคัญยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ค าถามเป็นกุญแจที่น าเด็กน้อยสู่โลกว้าง 
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ อยู่แล้ว หากผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กทุกคนได้
ร่วมมือกันส่งเสริมความต้องการของเด็กอย่างถูกวิธีให้เด็กได้เรียนรู้จากการเล่น และท ากิจกรรมต่างๆ 
ด้วยตนเองโดยใช้ค าถามเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เด็กฝึกคิด หาค าตอบในหลายรูปแบบ อีกทั้งให้เด็กได้
ฝึกคิดอย่างสม่ าเสมอ ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นระบบการท างานของสมอง น าเด็กไปสู่การคิดแก้ปัญหาได้
ตามวัย
      การศึกษาพฤติกรรมเพื่อปรับลดพฤติกรรมการต่อต้านของเด็ก โดยการใช้การเสริมทางบวก  พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นรากฐานที่ส าคัญของพัฒนาการในวัยอื่น ๆ การศึกษาพฤติกรรมหรือการ
เฝ้าระวังมิให้เกิดปัญหาอุปสรรคอันจะเกิดกับเด็ก  เป็นภาระหน้าที่ของผู้ใหญ่   ขณะที่เด็กอยู่ที่บ้าน หน้าที่
ทั้งหมดเป็นของผู้ปกครอง  แต่ขณะที่เด็กอยู่ที่โรงเรียน หน้าที่นี้จักเป็นของครู การพัฒนาลักษณะอันพึง
ประสงค์ของเด็ก และปรับพฤติกรรมที่จะส่งผลต่อการพัฒนาจึงเป็นสิ่งสำคัญ  เพื่อที่เด็กจะได้เติบโตขึ้นมีรากฐานที่ดีในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
      การศึกษาแนวทางแก้ไขพฤติกรรมทักษะการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกวิธ  จากการสังเกตนักเรียนอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ส่วนใหญ่เขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษไม่ถูก โดยการเขียนผิดทิศทาง ครูสังเกตดูขณะที่นักเรียนเขียน ปรากฏว่านักเรียนมีทักษะการเขียนที่ไม่ถูกต้อง ผู้วิจัยพิจารณาเน้นพฤติกรรมที่ควรแก้ไข เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการเขียนที่ถูกต้อง 
จึงได้ท าแบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ถูกต้องให้แก่นักเรียน


สรุปโทรทัศน์ครู

          นิทาน...เล่มใหญ่ การนำเอาศิลปะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปะภาพ ฉีกกระดาษเพื่อแปะลงบนรูปพยัญชนะมาเป็นสื่อการสอนให้เด็กรู้จักพยัญชนะแต่ละตัวซึ่งการสอนให้เด็กค่อยๆรู้จักพยัญชนะทีละตัวจะช่วยให้เด็กจำแต่ละตัวได้นอกจากนี้จะสอนโดยการเรียนปนเล่นเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการมีความสุขในการเรียนสุดท้ายเด็กจะสามารถจดจำในสิ่งที่ครูสอนได้เป็นอย่างดี
          ผลไม้แสนสนุก เป็นการสอนโดยใช้วิธีการพาเด็กไปศึกษาสถานที่จริงในที่นี้คือการไปศึกษาเรื่องผลไม้ที่ตลาด โดยจะได้บูรณาการกิจกรรมต่างๆเข้าไปในการทำกิจกรรมครั้งนี้
          เล่นสนุกกับภาษาอังกฤษ เด็กต้องเรียนรู้กิจกรรมด้วยความสนุกสนานและเหมาะกับวัยของเด็กจึงมุ่งเน้นให้เด็กๆเรียนรู้ผ่านกิจกรรมใน 4 กระบวนการคือ Introduction (ขั้นนำ),Expansion (ขั้นดำเนินการสอน),Consolidation (ขั้นขยายประสบการณ์),Review and Assessment (ขั้นทบทวนและประเมินผล) โดยครูเลือกบทเรียนเรื่อง Toy หรือของเล่นซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นสิ่งที่เด็กๆได้เรียนรู้
         ปลูกฝั่งความดีในชั้นปฐมวัย การปลูกฝั่งจริยธรรมและการทำความดีตั้งแต่เด็กนั้นจะทำให้เด็กไม่เขินอายและทำอย่างมีความสุขครูจึงจัดกิจกรรมปลูกฝั่งความดีให้แก่เด็กตลอด
         กิจกรรมแก้ปัญหาการไม่พูดและแสดงออก เด็กเป็นวัยที่จะเริ่มต้นการเรียนรู้แบบรวมกลุ่มกับเพื่อนๆเด็กบางคนจะกล้าพูดกล้าแสดงออกกล้าพูดคุยกับคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัวแต่มีเด็กบางคนที่ไม่กล้าพูดกล้าคุยไม่กล้าแสดงออกซึ่งจะเป็นปัญหาได้ในอนาคต
         ภาษาในวัยแรกเริ่มเพื่อการสื่อสาร  ศูนย์ปฐมวัย 3 แห่งแสดงให้เห็นการพัฒนาทักษะด้านภาษาและการพูดของเด็กผ่านสภาพแวดล้อมของห้องเรียน ผู้ปกครอง และกลยุทธ์กานฝึกและการแก้ไขคำพูดโครงการเด็กเล็กช่างพูด (ECaT) ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้มของห้องเด็กทารกที่ศูนย์ปฐมวัยเด็กๆ เล่นกันในพื้นที่เอื้อต่อการคุยและนั่งตรงข้ามกันหรือนั่งใกล้ๆกระจกเพื่อกระตุ้นการสื่อสารช่วงปฐมวัยการใช้โปรแกรม ECaT ยังช่วยให้ศูนย์เด็กเล็กคลิฟตันในเมืองฮัลพัฒนาความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้ปกครงชาวโปแลนด์ ที่มีนิสัยจริงจัง โปรแกรม Stay and Play กำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากกิจกรรมต่างๆที่ทำสะท้อนถึงมรดกตกทอดและกระตุ้นให้ผู้ปกครองเข้าถึงการบริจากหลากหลายองค์กรในฐานะส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน ศูนปฐมวัยอิสต์ยิม ในเมืองวอสเตอร์เชียร์ นำเสนโรงเรียนป่าสำหรับนักเรียนทุกคนนักบำบัดด้านภาษาและการพูดทำงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อพัฒนากลยุทธ์ที่ช่วยให้นักเรียนปฐมวัยสามารถก้าวไปสู่ภาษาในขั้นต่อไปได้

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 16

วันที่ 28 กันยายน  2555


วันนี้อาจารย์ให้เขียนอะไรก็ได้เกี่ยวกับ  Tablet  โดยให้เวลาในการเขียน  20  นาที  และให้นักศึกษาส่ง

งานที่ยังไม่ได้ส่งและให้นักศึกษาลิงค์  Blogger  ของอาจารย์   อาจารย์ได้ปิดคอร์สการเรียนการสอน













วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15



วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555


วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการสอนว่ามีวิธีใดบ้าง จะสอนเด็กได้โดยวิธีใด บอกถึงวัตถุประสงค์ว่าควรจะสอนสิ่งใดกับเด็ก การบูรณาการระหว่างเรื่องต่างๆ ทั้งในเรื่องภาษา เทคนิคต่างๆ บอก ๔ ข้อดี ข้อเสียต่างๆ และในท้ายชั่วโมงอาจารยืได้สอนถึงทักษะการใช้ชีวิต การสรุปองค์ความรู้ สรุปในเนื้อหาที่เรียนกันมา แล้วอาจารย์ก็ได้ให้ทำใบประเมิน แล้วบอกนักศึกษา เรื่องรายละเอียดblogger ว่าจะส่งวันไหน

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14



วันศุกร์ที่14 กันยายน 2555


วันนี้อาจารย์ได้ให้ มาร้องเพลงต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อร้องเพลงเสร็จแล้ว ก็เป็นการเล่านิทานโดยเทคนิคต่างๆ ดั้งนี้


1.       เล่าไปวาดไป



    2.      เล่าไปตัดไป

3.      เล่าไปฉีกไป

4.      เล่าไปพับไป






โดยกลุ่มของดิฉันได้เล่าโดยใช้เทคนิคเล่าไปวาดไป  เรื่อง ความสุขของคุณยาย

         กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีคุณยายชอบปลูกผักผลไม้แต่ในโลกใบนี้ไม่มีพื้นที่พอสำหรับปรูกผักและผลไม้เลยคุณยายจึงเดินทางออกไปเรื่อยๆจนไปเจอดาวเคราะห์ดวงหนึ่งดาวเคราะห์ดวงนี้มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ยายจึงสร้างกระท่อนหนึ่งหลังในกระท่อมมี ทีวี  วิทยุ  เสาอากาศ 2 เสา  และเตียงนอน  ยายขุดลำคลองไว้ตรงกลางและแต่ล่ะด้านยายได้ขุดหลุมปลูกผัก  ผลไม้  ยายได้อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์ดวงใหม่อย่างมีความสุข










และร้องเพลงสำหรับเด็ก เพลง  เด็กดีต้องฟัง


เด็ก เด็ก เราเป็นเด็กเชื่อฟังผู้ใหญ่


* ฟังแล้วจะได้เข้าใจ    (ซ้ำ * )

ฟังผู้ใหญ่จะได้ดีเอย


ฟังผู้ใหญ่จะได้ดีเอย


ฟังผู้ใหญ่เป็นเด็กดี....เอย











บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13

วันศุกร์ที่ 7กันยายน 2555

ก่อนเรียนวันนี้ อาจารย์ได้บอกนักศึกษาว่างานทั้งหมดที่สั่งไปว่ามีอะไรบ้าง มีชิ้นไหนบ้าง หลังจากนั้น
อาจารย์ได้สอนถึงการสร้างสื่อการเรียนรู้ทางภาษา(มุมภาษา) ว่าควรจัดให้มีหนังสือนิทาน เทปเพลง มีโต๊ะเล็กๆ มีเบาะ ลองนั่ง หุ่นนิ้วมือ โรงละครเล็ก และมีกระดาษเล็กๆให้เขียนใส่กล่อง รวมทั้งอาจารย์พูดถึงการบูรณาการให้เกิดการเรียนรู้ โดยรวมพูดถึงการพัฒนาด้านต่างๆด้วย โดยการบูรณาการนี้จะเป็นตัวช่วยเสริม จะมีองค์ประกอบ ได้แก่ ขั้นนำ ร้องเพลง นิทาน ประสบการณ์เดิม เกม และคำคล้องจอง ซึ่งควรจัดมุมประสบการณ์ให้ถูกต้องเพื่อที่เด็กจะได้รับการพัฒนาและความรู้จากมุมประสบการณ์นี้ได้อย่างเหมาะสม ว่าเด็กจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง สอนเพิ่มเติมจากอาทิตย์ที่แล้ว จากเนื้อหาการทำสื่อ ว่ามีประโยชน์อย่างไร

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2555


ในวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษามาส่งปฎิทินที่เป็นสื่อการเรียนการสอน ที่สั่งไปในสัปดาห์ที่แล้ว










     
วันนี้อาจารย์จ๋าแจกสีไม้และเพจตัวอักษร


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2555


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาฟังเพลง เกาะสมุย โดยที่ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ ว่าเพลงนี้เวลาฟังแล้วรู้สึกเช่นไร ฟังแล้วได้อะไรบ้าง สอนอะไรกับเราบ้าง










และต่อมาอาจารย์ได้เล่านิทานเรื่องช้างน้อย อัลเฟรด ให้ฟังว่ามีคุณค่าอย่างไร
ช้างน้อยอัลเฟรด เป็นเรื่องของช้างที่มีงวงยาวกว่าผิดปกติ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อัลเฟรดพยายามซ่อนงวงของตัวเอง แต่แล้ววันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดเห็นดังนั้นจึงได้ใช้งวงของตัวเองช่วยเด็กผู้หญิงคนนั้นลงมา เมื่อสัตว์อื่นๆพากันเห็นจึงชื่นชมอัลเฟรดและนับแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขเพราะว่าไม่ต้องคอยซ่อนงวงอีกต่อไป




นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ควรเห็นค่าของตัวเอง

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

วันศุกร์ที่17 สิงหาคม 2555



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน

เนื่องจาก อาจารย์ได้ให้เรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 19สิงหาคม 2555 เวลา 13.00 น. ห้อง 223

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9



วันศุกร์ที่10 สิงหาคม 2555




วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดสื่อที่เกี่ยวกับภาษา และได้คิดออกมาว่าจะทำสื่อการสอนจากปฏิทินตั้งโต๊ะและใช้ตัวอักษรไทย ได้แก่




อักษรสูง : ง ญ น ย ร ว ม ล




อักษรกลาง : ก จ ด ต บ ป อ




อักษรต่ำ : ศ ฐ ข ส ฝ ถ ผ ห ฉ




สระ : อะ อา/อิ อี/อุ อู/เอะ เอ/แอะ แอ/โอะ โอ

เลือกปฏิทินทำสื่อการสอน




กลุ่มของดิฉัน ได้ อักษรกลาง: ก  จ  ด  ต  บ  ป  อ ฎ  ฏ

                            สระ:  อิ  อี






โดยจับกลุ่ม 3 คน แล้วส่งตัวแทนไปจับสลาก ว่ากลุ่มเราได้อักษรประเภทไหนสระอันไหนเมื่อได้สลากมาแล้ว ให้ไปประดิษฐ์เป็นคำมีภาพประกอบด้วย แล้วส่งอาทิตย์ต่อไปซึ่งกลุ่มเราจับได้ อักษรต่ำและสระโอะ โอ

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8



วันศุกร์ที่3 สิงหาคม 2555


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก สอบกลางภาค ภาคเรียนที่1/2555 ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ค.- 6 ส.ค.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

วันศุกร์  ที่ 27 กรกฏาคม  2555



วันนี้ไปเล่านิทานให้น้องอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมฟัง เรื่อง แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ เป็นหนังสือนิทานเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญาและช่วยให้เซลล์สมองของเด็กทำงานเชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ ในตอนขณะที่เล่านิทานไปน้องๆสนใจฟังนิทาน เมื่อเล่านิทานจบแล้วกลุ่มของดิฉันได้ถามคำถามน้องๆว่านิทานเรื่องนี้ได้สอนเกี่ยวกับอะไรบ้าง แล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร น้องๆก็สามารถตอบคำถามได้



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

วันศุกร์ที่ 20 กรกฏาคม 2555


วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปเล่นนิทานตามที่กลุ่มของตัว ไปเล่าให้เด็กๆที่อยู่ในโรงเรียนสาธิตฟัง จากนั้นให้สังเกตพฤติกรรมในระหว่างการเล่าว่าเด็กเขาเป็นอย่างไร และให้จดบันทึกอย่างละเอียดเกี่ยวกับลักษณะท่าทางการแสดงออกทางภาษาของเด็ก ว่าเด็กมีการโต้ตอบ อะไรบ้างกับเราและเมื่อเล่านิทานจบแล้วให้ลองถามเด็กเกี่ยวกับนิทานที่เล่าให้ฟังเพื่อที่เราจะดูพัฒนาการของเด็ก หรือขณะที่เล่าอาจจะให้เด็กๆมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และนำผลที่ได้มาเสนออาจารย์ ในสัปดาห์ต่อไป โดยกลุ่มของดิฉันได้ ได้เล่านิทานเรื่อง  แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ เป็นหนังสือนิทานเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญาและช่วยให้เซลล์สมองของเด็กทำงานเชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเล่าให้น้องอนุบาล 3โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม














บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 5



วันศุกร์ ที่13กรกฎาคม 2555


วันนี้มีการนำเสนองานที่อาจารย์ได้ให้ไปค้นคว้ามา การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย ทั้งหมดมี 5 กลุ่ม


กลุ่มที่ 1 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 4 ขวบ


กลุ่มที่ 2 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 3 ขวบ


กลุ่มที่ 3 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 2 ขวบ


กลุ่มที่ 4 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 6 ขวบ


กลุ่มที่ 5 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 9-11 ขวบ

 * โดยกลุ่มของดิฉัน ได้เรื่อง การพัฒนาทางด้านภาษาของเด็ก อายุ 6-7 ปี










บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4



วันศุกร์ที่ 6 กรกกาคม 2555


วันนี้งดการเรียนการสอน เพราะอาจารย์ให้ทุกกลุ่มเอางานที่จะนำเสนอในอาทิตย์นี้กลับไปทำมาใหม่ให้เรียบร้อย  .ให้ดูน่าสนใจ และต้องทำออกมาไม่ให้งานนั้นดูไม่น่าเบื่อ ต้องมีวิธีที่นำเสนอแล้วน่าสนใจ มีลูกเล่นในผลงานของตนเอง และมีวิธีเสนองานที่แปลกใหม่ มีภาพประกอบ และในสัปดาห์หน้าจะให้นักศึกษาทุกกลุ่มออกมารายงานใหม่อีกครั้ง

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 3



วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2555


วันนี้งดการเรียนการสอน อาจารย์ได้สั่งงานให้นักศึกษาไปค้นคว้ารายละเอียดของงานในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายมาทำรายเป็นรายงาน โดยให้คิดวิธีในการนำเสนอด้วยตนเองตามความสามารถและความถนัดของแต่ละกลุ่ม และให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมารายงานในสัปดาห์ต่อไป

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 22มิถุนายน 2555


วันนี้อาจารย์ได้อธิบายถึงรายวิชาการจัดประการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ว่าเมื่อแยกออกมาจะประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งแยกออกมามีหัวข้อหลัก 4หัวข้อ คือ 1.พัฒนาการ 2.วิธีการเรียนรู้ 3.การจัดประสบการณ์ และ 4.ภาษา ในแต่ละหัวข้อนั้นอาจารย์ได้สอนให้รู้ถึงความสำคัญว่าควรที่จะนำมาใช้และพัฒนาการสอนได้อย่างไร อีกทั้งอาจารย์ยังสอนร้องเพลงภาษาต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน พูดถึงความหมายของการเล่น เรื่องของสมอง และการปฏิบัติตนในเวลาเรียน สุดท้ายของคาบชั่วโมงอาจารย์ได้มอบหมายงานโดยแบ่งกลุ่ม 4-5 คน เพื่อสัมภาษณ์และถ่ายคลิปวิดีโอของเด็กในแต่ละวัยที่กำหนดให้พร้อมทั้งนำเสนองานด้วย Power Point


งานที่อาจารย์มอบหมาย
    ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มการทำรายงาน  กลุ่มของดิฉันได้รับคือ การพัฒนาการทางภาษาของเด็ก
 อายุ 6-7 ปี



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่1

วันศุกร์ ที่15 มิถุนายน 2555


เรียนวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ได้ย้ายห้องเรียนจากห้อง441มาเรียนที่23 เป็นห้องคอมพิวเตอร์ และให้นักศึกษา2คนต่อคอมพิวเตอร์1เครื่อง แล้วอาจารย์ได้สั่งให้นักศีกษา สร้างblogger ไว้เพื่อเก็บผลงาน และบันทึก กิจรรมที่ทำไว้  และอาจารย์ได้พูดถึงข้อตกลงกฏกติกาต่างๆ ในการเรียนการสอน


วิธีสร้างบล็อกกับ Blogger

ขั้นที่ 1   การสมัครใช้งาน Blogger สามารถใช้ email ของระบบใดก็ได้ แต่ในระยะยาวแล้วการเชื่อมโยงกับบริการหลายๆอย่างของ google ควรจะใช้ email ของ Gmail ดีที่สุดค่ะ

                    ดัง นั้นในขั้นแรกนี้ให้คุณเข้าไปที่ www.gmial.com เพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้กับ google 





ขั้นที่ 2   หลังจากได้บัญชีผู้ใช้แล้ว ให้ไปที่ www.blogger.com เพื่อสร้างบล็อกกันเลยค่ะ
โดยในการสร้างบล็อกนั้น ก็ให้ใช้ บัญชีผู้ใช้ (user name + password) ที่ได้สร้างไว้ในขั้นที่ 1






ขั้นที่ 3  ในขั้นต่อมาให้กรอก emailที่ได้จากขั้นที่ 1  ชื่อผู้เขียนบล็อก วันเกิด และยอมรับข้อตกลง
แล้ว Click ที่ปุ่มดำเนินการต่อ 





ขั้น ที่ 4  การตั้งชื่อเว็บบล็อกสามารถใช้ชื่อที่ชอบได้ตามใจ 
แต่การกำหนด URL จะต้องไม่ให้ซ้ำกับคนอื่น ๆ ถ้าซ้ำก็ใช้วิธีเปลี่ยนเป็นคำหรือวลีที่ใกล้เคียงไปเรื่อย ๆ
(การตั้งชื่อและ URL ของบล็อกควรมี keyword ที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะเขียนด้วย)










ขั้นที่ 5  ในขั้นสุดท้ายนี้เป็นการเลือกแม่แบบของบล็อก ให้เลือกแม่แบบใดก็ได้ค่ะ
เพราะเราจะมาทำการปรับแต่งแม่แบบได้ในภายหลัง ซึ่งเราได้เขียนบทความการเปลี่ยนแม่แบบเอาไว้รอท่านแล้ว





  เมื่อจบ 5 ขั้นตอนข้างต้นถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนการสร้างบล็อกแล้วค่ะ



  

ขั้นที่ 6 ในขั้นตอนนี้เป็นการเลือกจัดการกับบล็อกที่สร้างขึ้น
คุณสามารถเข้าไปจัดการส่วนต่าง ๆ ของบล็อกได้จาก www.blogger.com  หรือ draft.blogger.com 







6.1 ถ้าคุณอาจจะเริ่มเขียนบล็อกเลย ให้อ่านข้อแนะนำการเขียนบล็อกจากบทความ วิธีเขียน และจัดการบทความ 
6.2 แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนแม่แบบก่อนให้อ่านบทความ วิธี เปลี่ยน Templates ของ Blogger หรืออ่านวิธีออกแบบแม่แบบด้วยตัวเองจากบทความ เครื่อง มือสำหรับออกแบบแม่แบบด้วยตนเอง